วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเภทของกองทุน
กองทุน RMF
RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง (กองทุนรวม หมายถึงการนำเงินของผู้ลงทุนหลายๆ คนมารวมกัน แล้วมีมืออาชีพซึ่งก็คือ บริษัทจัดการ คอยบริหารจัดการเงินตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้) ซึ่งมีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป คือ RMF เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมีสวัสดิการดังกล่าวแต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นได้อีก
นโยบายการลงทุนของRMFมีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลางที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (warrant)
RMF มีข้อแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วๆ ไปอย่างไร
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็น หลักประกันได้
3. ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เป็นอย่างไร
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน RMF มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ
5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า)
• ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
• ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินไดก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3%
ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF มีอะไรบ้าง
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

กองทุน LTF
LTF ย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลาจึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้
นโยบายการลงทุนของLTF มีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยอาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET50 หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุน
ในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของแต่ละ LTF
LTF มีข้อแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วๆ ไปอย่างไร
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3. เป็นกองทุนเปิด ซึ่งกำหนดให้ขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
เงื่อนไขการลงทุนของ LTF เป็นอย่างไร
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน LTF มีเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่มีการลงทุนครั้งแรกเป็นปีที่ 1 และนับก้อนเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี เช่น ลงทุนในระหว่างปี 2547 จะครบ 5 ปีตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ลงทุนในระหว่างปี 2548 จะครบ 5 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF มีอะไรบ้าง
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้


กองทุนETF
ETF หรือ “Exchange Traded Fund” คือ กองทุนเปิดที่ลงทุนในหุ้นทุน และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้ามาดูตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำที่ประกอบขึ้นได้ดังนี้
-Exchange: หมายความว่า มีการนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดรอง (secondary market)หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (the stock exchange)
-Traded: หมายความว่า สามารถทำการซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัวหนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่อง (liquidity) ของกองทุน ETF จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆ ไปที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ในทันทีแบบ Real Time อีกด้วย
-Fund: หมายความว่า กองทุน ETF เป็นกองทุนรวม (mutual fund) ประเภทหนึ่งโดย ETF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีอ้างอิง อาทิ ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ เป็นต้น


ETF ที่ลงทุนในตราสารทุนกองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ผู้จัดการกองทุนจะรวบรวม
เงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปซื้อหุ้นในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงประกอบไปด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี มีมูลค่าตามราคาตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน มีการหมุนเวียนของการซื้อขายโดยตลอดหรือมีสภาพคล่องสูง
ดัชนี SET50 (SET50 Index) เป็นหนึ่งในดัชนีราคาหุ้นสามัญที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สร้างขึ้นมา เพื่อสะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีสภาพคล่อง และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูง จนถือได้ว่าเป็นตัวแทนมูลค่าของหุ้นสามัญส่วนใหญ่ในตลาด โดยถูกคำนวณขึ้นด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight) ตามสูตรต่อไปนี้
1. ราคาซื้อขาย (trading price)
คือ ราคาซื้อ (bid) และราคาขาย (offer) ที่ปรากฎอยู่บนกระดานซื้อขาย ETF ซึ่งราคานี้จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อ และ
ความต้องการขาย ของผู้ลงทุน ETF ในตลาด
2. มูลค่าต่อหน่วย (net asset value: NAV)
คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อขายของหุ้นที่เป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ แต่สำหรับ Equity ETF แล้ว บริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETF จะมีการคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณทุกนาทีตลอดเวลาทำการซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณนี้เรียกว่า Indicative NAV (INAV)การลงทุนใน ETF ในตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ในต่างประเทศได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีสภาพคล่องจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุนในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนคือซื้อ TDEX 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อหุ้น 50 ตัวพร้อมกัน
1. กำไรจากส่วนต่างของราคา (capital gain)
โดยหากผู้ลงทุนที่สามารถซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำแล้วสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าตอนที่ซื้อมา จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา
2. เงินปันผล (dividend)
ผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วย ETF ซึ่งได้มาจากเงินปันผลของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบ ของ SET50 Index
โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลหลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุน
ความเสี่ยงจากการลงทุนใน ETF
ผู้ลงทุนใน ETF มีความเสี่ยงจากปัจจัยลบที่อาจจะมีผลกระทบเชิงลบต่อระดับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจปรับตัวลดลงส่งผลกระทบต่อราคา SET50 ETF ที่ผู้ลงทุนถือไว้อาจมีราคาลดลงได้ ทำให้ผู้ลงทุนอาจขายหน่วย ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนที่ซื้อมาตอนแรก
นอกจากนี้
ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของหน่วย ETF ไม่เท่ากับ
อัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100%

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ERP
ระบบ ERP หมายถึงอะไร
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึง การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ
1. การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP
จุดเด่นของ ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน การไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow)และการไหลของข้อมูล (information flow) ERP ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
2. รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP
การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง(real time)อย่างทันที เมื่อมีการใช้ระบบ ERP ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน
3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี
การที่ระบบ ERP สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียว แบบ Real time ได้นั้น ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี ซึ่งมีจุดเด่น คือ คุณสมบัติของการเป็น 1 Fact 1 Place ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ 1 Fact Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน ขาดประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน
ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity)ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะ เพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
- การควบคุมภายใน (internal control)
- การควบคุมภายนอก (external control)

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน
3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสริมความสำเร็จของกลยุทธ์
4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลขทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน
ระบบสารสนเทศทางการเงิน ทำหน้าที่หลักทางการเงิน (finance) เกี่ยวกับการคาดการณ์ทางการเงิน ได้แก่ แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการแหล่งที่มาการใช้จ่าย การจัดการเงินทุน เช่น แหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการ และ การตรวจสอบ เช่น งบรายได้ งบกำไรขาดทุนงบดุล

ระบบสารสนเทศทางการเงิน (Finance) การจัดทำรายงานทางการเงิน การลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ
1. หน้าที่หลักทางการเงิน
1.1 การคาดการณ์ทางการเงิน แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการ แหล่งที่มาการใช้จ่าย ต.ย. การใช้แบบจำลองกระแสเงินสด
1.2 การจัดการเงินทุน แหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการ สามารถใช้แบบจำลองทางเลือกต่าง ๆ สำหรับบริหารเงิน
1.3 การตรวจสอบ (auditing)
- เป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือแนวทางที่กำหนด
- การตรวจสอบภายใน (internal audit) การเงิน การปฏิบัติการ
- การตรวจสอบภายนอก (external audit) โดยผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ
ผลการตรวจสอบทางการเงิน จะได้ งบรายได้ งบกำไรขาดทุน งบดุล
2. แหล่งสารสนเทศทางการเงิน
2.1 ข้อมูลประมวลผลธุรกรรม
2.2 ข้อมูลการคาดการณ์ภายใน จากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ยอดขาย รายได้
2.3 ข้อมูลเงินทุน (funding data) แหล่งเงินทุน เงื่อนไข การปันผล การจ่ายดอกเบี้ย
2.4 ข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ (portfolio data) หลักทรัพย์ที่กิจการถือ ราคาตลาดหลักทรัพย์
2.5 ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของรัฐบาล เช่น การลดค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย
2.6 ข้อมูลสภาวะภายนอก เช่น ราคาหุ้น อัตราดอกเบี้ย ทิศทางของกิจการ
2.7 แผนกลยุทธ์ การกำหนดแผนการเงินจะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของกิจการ
3. ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการเงิน
3.1 การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ (cash/credit/investment management)
- ข้อมูลเงินสดรับและออก
- ใช้สำหรับการลงทุนกับเงินทุนส่วนเกิน
- มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การเก็บเงินสด software
3.2 งบประมาณการลงทุน (capital budgeting)
- การวิเคราะห์ การลงทุนโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ ความเสี่ยง
3.3 การวางแผนการเงิน (financial planning)
- ประเมินสมรรถนะทางการเงินของธุรกิจ ในปัจจุบันและที่คาดการณ์
- วิเคราะห์ทางเลือกทางการเงินของกิจการ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน
ทำหน้าที่ในการจัดการสารสนเทศด้านการเงินให้แก่ผู้บริหารและกลุ่มบุคคลซึ่งต้องการทำการตัดสินใจได้ดีขึ้นและช่วยในการหาโอกาสและปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยระบบ สารสนเทศด้านการเงินนิยมใช้รวมเข้ากับซอฟต์แวร์ในการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) ซึ่งเป็นกลุ่มของโปรแกรมที่จัดการ วิเคราะห์และติดตามการดำเนินธุรกิจของแหล่งผลิตหรือสาขาต่างๆ ขององค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าสารสนเทศด้านการเงินในการปฏิบัติงาน สามารถนำไปใช้สนับสนุนความสามารถในการตัดสินใจให้แก่บุคคลที่ต้องการได้ทันเวลา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงินมีความสามารถการทำงานดังต่อไปนี้
1. รวบรวมสารสนเทศด้านการเงินและการดำเนินงานจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพียงระบบเดียว
2. สนับสนุนผู้ใช้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านการเงินและผู้ใช้อื่น ๆ ของบริษัท ให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและ สารสนเทศทางด้านการเงินผ่านทางเครือข่ายในองค์กรได้ง่าย
3. เตรียมข้อมูลด้านการเงินที่มีอยู่ให้พร้อมต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินได้หลายมิติ เช่น วิเคราะห์ตามช่วงเวลา, ภูมิประเทศ,ผลิตภัณฑ์, โรงงานผลิต หรือลูกค้าได้
5. วิเคราะห์การดำเนินงานด้านการเงินที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้
6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนได้ตลอดเวลา
ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน
ระบบย่อยในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ขึ้นอยู่กับองค์กรและความต้องการขององค์กรนั้น โดยอาจประกอบด้วยระบบภายในและระบบภายนอกที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลทางธุรกิจของบริษัท เช่น ระบบการจัดหา, การใช้, และการควบคุมเงินสด, ระบบเงินทุนและแหล่งการเงินอื่น ๆ และอาจจะประกอบด้วย ระบบย่อยในการหากำไร/ขาดทุน, ระบบบัญชีค่าใช้จ่ายและระบบการตรวจสอบ โดยระบบต่างๆ เหล่านี้จะทำงานประสานกับระบบประมวลผลรายการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้จัดการด้านการเงินสามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่ รายงานด้านการเงินต่าง ๆ เช่น รายงานกำไร/ขาดทุน, รายงานระบบค่าใช้จ่าย, รายงานการตรวจสอบภายในและภายนอกและรายงานการใช้และการจัดการเงินทุน

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อ2.จากการศึกษาเรื่องจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงิน ให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงินในองค์กรและการจัดการการเงินส่วนบุคคลมาพอสังเขป
-การจัดการกางเงินในองค์กรมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ ราคาหุ้นของกิจการมีราคาสูงสุด ดัชนีวัดความมั่งคั่งของเจ้าของวัดจากกำไรต่อหุ้นที่ได้จากการลงทุนทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ในการดำเนินงานนั้นกำไรจึงเป็นตัวบ่งชี้ว่าธุรกิจนั้นสามารถดำเนินการต่อได้หรือไม่ และราคาหุ้นสามัญ ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี2ปัจจัยคือ
1.เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญจะสูงขึ้นเท่านั้น
2.ความเสี่ยงคือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จากความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่าความเสี่ยงสูง เมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักของ Trade off ( High Risk High Return ) ในทางตรงกันข้ามถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย
ดังนั้นแล้วผู้จัดการการเงินจะต้องหาแนวทางเพิ่มความมั่งคั่งสูงสุดแก่เจ้าของ คือเพิ่มมูลค่าหุ้นสามัญสูงสุด การวัดมูลค่าสูงสุดจะคิดถึงกำไรของกิจการในปัจจุบันและอนาคต โอกาสของการเกิดความเสี่ยงของกระแสเงินสด และเงินปันผล นอกจากนี้แล้วจุดมุ่งหมายขององค์กรธุรกิจคือทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ความอยู่รอดของธุรกิจ พนักงานทำงานอย่างเป็นสุข ส่งผลให้ธุรกิจเกิดความเจริญเติบโต และองค์กรมีความรับผิดชอบต่อสังคม
-การจัดการการเงินส่วนบุคคลคือการบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและนับเป็นตัวช่วยให้นำพาเราไปสู่ความสำเร็จ ช่วยให้บุคคลบรรลุเป้าหมายทางการเงินทั้งหมดที่วางไว้ ทำให้เกิดความมั่งคั่งในชีวิต สามารถตอบสนองความต้องการและเป้าหมายเฉพาะเจาะจงและเป้าหมายองค์รวมของชีวิต ช่วยป้องกันความเสี่ยงหรือบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัว ช่วยคุ้มครองความเสี่ยงผ่านการวางแผนประกันภัย เป็นตัวช่วยสะสมความมั่งคั่งผ่านการวางแผนภาษีและการวางแผนการลงทุน และยังเป็นตัวช่วยในการวางแผนการใช้จ่ายในบั้นปลายของชีวิตผ่านการวางแผนเพื่อวัยเกษียณอายุ

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

จงอธิบายความสำคัญของการบริหารการจัดการทางการเงินที่มีต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลและเอกชน

ข้อ1 ความสำคัญในการบริหารทางด้านการเงินทั้งภาครัฐและเอกชน
ความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงินที่มีต่อองค์กรนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่าการจัดการบริหารการเงินนั้นเป็นปัจจัยหลักทางการบริหารขององค์การไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ขึ้นอยู่กับว่าภาคใดจะมีการจัดการที่ดีกว่ากันและสามารถดำเนินกิจการนั้นเจริญเติบโตและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดของกินการนั้นๆได้เป็นอย่างดี
ถ้าจะกล่าวถึงทางภาครัฐแล้วจะต้องมีการบริหารการเงินที่ดี เพราะว่าการลงทุนในภาครัฐนั้นอาจจะมีการได้กำไรหรือผลตอบแทรที่น้อยเพราะว่าเป็นกิจการที่มีการลงทุนน้อย และส่วนมากจะมีแต่ภาครัฐบาลเองที่มาบิหารส่วนเอกชนจะเข้ามาแทรกแซงได้น้อยทำให้ภาครัฐต้องมีการบริหารทางด้านการเงินที่มีอยู่อย่างพอเพียงได้ ส่วนภาคเอกชนนั้นจะต้องมีการบริหารที่ดีมากกว่าและมีประสิทธิภาพ เพราะว่าภาคเอกชนนั้นมีการลงทุนที่สูงและต้องการผลกำไรเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการจัดการทางด้านการเงินที่ดีพอ แต่ถ้าความสำคัญจริงๆทั้งๆ2ภาค จะมีความสำคัญที่เท่าเทียมกัน

Agency Problem
“Principal-Agent Problem” คือ “ปัญหาอันเกิดจากจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ต่างกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง” จุดมุ่งหมายของนายจ้างคือ “ผลประโยชน์” ของบริษัทอันหมายถึงผลกำไรและความเจริญเติบโตใดๆก็ตามที่บริษัทพึงมี ส่วนจุดประสงค์ของลูกจ้างนั้นคือ “ผลประโยชน์ของตัวเอง” อันคงมิใช่อะไรนอกไปเสียจาก “เงินเดือน” หรือ “ผลประโยชน์อันไม่อยู่ในรูปตัวเงิน” ต่างๆ อาทิเช่น ความสบายใจในการทำงานอันเกิดจากการอู้งานในขณะที่ยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม หรืออาจจะเป็นผลประโยชน์นอกลู่ใดๆอันอาจหามาได้จากการซิกแซ็กในการทำงาน

CFO
CFO – Chief Financial Officer เป็นผู้บริหารสูงสุดทางด้านการเงินของบริษัท หน้าที่คือรับผิดชอบในเรื่องของการดูแล รับผิดชอบ และตัดสินใจในเรื่องของบัญชีและการเงินของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องรายงานต่างๆ การดูแลเรื่องระบบบัญชี การดูแลด้านการเงินทุกอย่างตั้งแต่การหาแหล่งเงินทุน การใช้จ่ายเงิน การดูแลด้านงบประมาณ หรือ การนำเงินไปลงทุน ฯลฯ
1.ต้องเข้าใจว่าองค์กรจะทำอะไร
2.ให้แน่ใจว่ามีการประเมินอย่างมีความหมายในตัวเลขต่าง ๆจะได้จัดการทรัพยากรทางการเงินได้(Resource Allocation)
3.สื่อความกันตลอดเวลาให้เห็นภาพเครื่องที่เลือกใช้และติดตามงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไปไม่ถึงเป้า

Social Responsibility
การดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ซึ่งหมายถึง การมีนโยบายพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน ควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด “องค์กรควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ พัฒนา และ มุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการและคืนกำไรให้แก่สังคม
และองค์กรต่างๆที่มีจิตสำนึกต่อสังคมจะมีแนวทางการดำเนินงานที่คำนึงถึงพนักงาน / สิ่งแวดล้อม และชุมชน เป็นหลัก ISO 26000 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่มีการบังคับทางกฎหมายว่าทุกองค์กรต้องมีระบบมาตรฐานนี้ แต่หากองค์กรใดมีจิตสำนึกและปฏิบัติสอดคล้องกับแนวทาง ISO 26000 ก็จะเป็นที่ยอมรับและมีผลต่อภาพลักษณ์ ของการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

Conflict of Interest
Conflict of Interests หรือที่ในภาษาไทยใช้ว่า ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนร่วมหรือที่นักวิชาการบางคนใช้คำว่า ความทับซ้อนกันของผลประโยชน์หรือความขัดแย้งกันของผลประโยชน์นั้น สามารถมองได้ใน 2 ระดับ คือ
1. ระดับนโยบายหรือระดับมหภาค ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายในด้านต่างๆของประเทศ เช่น นโยบายด้านพลังงาน และนโยบายด้านการสื่อสาร เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในขอบข่ายของความขัดแย้งกันฯในระดับนี้จึงได้แก่นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง กลุ่มธุรกิจ(การเมือง) และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ เป็นต้น
2. ระดับปฏิบัติการ ซึ่งเป็นปัญหาความขัดแย้งกันฯ ในระดับบุคคล คือ ในตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐรวมถึงกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อ Conflict of Interests เช่น วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้/ภาษีวิชาชีพเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

ตราสารทุน
ตราสารทุน (Equity Instruments) หมายถึง ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารทุนได้แก่
1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง
4. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด

ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างกัน โดยลักษณะของการเป็นตราสารเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนมือได้กล่าวอีกนัยหนึ่งตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่งที่มีความเป็นมาตรฐาน ผู้ออกตราสารเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ ในขณะที่ผู้ให้กู้เป็นผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายมีข้อผูกพันทางกฎหมายที่จะได้รับชำระเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น ตามเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ตราสารหนี้มีคุณสมบัติที่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยๆที่เท่าๆกันโดยได้ผลประโยชน์หรืออัตราผลตอบแทนเท่ากันทุกหน่วย และมีคุณสมบัติที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้จนกว่าจะหมดอายุของตราสารนั้นสำหรับการเรียกชื่อตราสารหนี้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยทั่วไปในต่างประเทศใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Secured bond) และใช้คำว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Unsecured bond) สำหรับในประเทศไทยนิยมเรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐว่า พันธบัตร(Bond) ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนจะเรียกว่า หุ้นกู้(Debenture)

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์เกี่ยวกับการเงิน financial

คำศัพท์เกี่ยวกับการเงิน financial

1. account payable บัญชีเจ้าหนี้
2. account receivable บัญชีลูกหนี้
3. accrued expenses ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
4. accrued income รายได้ค้างรับ
5. accrued interest ดอกเบี้ยค้างรับ
6. accaccrued interest payable ดอกเบี้ยค้างจ่าย
7. accrued liabilities หนี้สินค้างจ่าย
8. accrued receivables รายได้ค้างรับ
9. accumulated profit กำไรสะสม
10. accumulated retirement เงินสะสม
11. administrative budget งบประมาณการบริหาร
12. advance payment จ่ายเงินล่วงหน้า
13. advanced money เงินทดรอง
14. allowance เงินอุดหนุน
15. allowance for uncollectibles สำรองหนี้สูญ
16. annual income รายได้ประจำปี
17. annuity เงินปี
18. appreciate ค่าเงินแข็งขึ้น
19. appropriated expenditures รายจ่ายจัดสรร
20. appropritation budget งบประมาณที่จัดสรรไว้
21. arrearages; arrears เงินที่ค้างชำระหนี้
22. arrears เงินค้างชำระ
23. assets สินทรัพย์
24. authorized shares หุ้นที่จดทะเบียน
25. average earning รายได้เฉลี่ย
26. bad debt หนี้สูญ
27. bad debt reserve เงินสำรองหนี้สูญ
28. balance sheet งบดุล
29. balanced budget งบประมาณสมดุล
30. balloon loan เงินกู้ระยะสั้น
31. bank account บัญชีเงินฝากธนาคาร
32. bank advances เงินที่ธนาคารให้กู้ยืม
33. bank charges ค่าธรรมเนียมบริการของธนาคาร
34. bank loan เงินกู้จากธนาคาร
35. bank overdraft เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร
36. banking การธนาคาร
37. bill of exchange ตั๋วแลกเงิน
38. bond หุ้นกู้
39. bonds payable เงินกู้
40. bonus เงินโบนัส
41. borrowings from banks เงินกู้ยืมจากธนาคาร
42. borrowings from financial institutions เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
43. borrowings from public เงินกู้ยืมจากประชาชน
44. bounty เงินอุดหนุน (จากรัฐ)
45. budget งบประมาณ
46. budget deficit งบประมาณขาดดุล
47. call loan เงินกู้ที่ต้องชำระคืนเมื่อทวงถาม
48. capital ทุน, เงินทุน
49. capital budget งบประมาณลงทุน
50. capital costs รายจ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สิน
51. capital expenditure รายจ่ายลงทุน
52. capital profit กำไรที่ได้จากการขายสินทรัพย์ถาวร
53. capital ratio อัตราส่วนของสินทรัพย์ต่อเงินทุน
54. capital reserve ทุนสำรอง
55. capital stock ทุนเรือนหุ้น
56. cash เงินสด
57. cash accounting การทำบัญชีเงินสด
58. cash advance การเบิกเงินเกิน
59. cash and carry การซื้อเงินสดและรับสินค้าไปเอง
60. cash bonus เงินปันผลเงินสด
61. cash book สมุดบัญชีเงินสด
62. cash budget งบประมาณเงินสด
63. cash discount ส่วนลดเงินสด
64. cash dividends payable เงินปันผลค้างจ่าย
65. cash flow กระแสเงินสด
66. cash in hand เงินสดในมือ
67. cash register เครื่องรับเงินสด
68. cash sale การขายสด
69. cash voucher ใบเบิก/จ่ายเงินสด
70. charge account บัญชีเชื่อ
71. chattels สังหาริมทรัพย์
72. checks returned เช็คคืน
73. cheque (check) เช็ค
74. child benefit เงินช่วยเหลือบุตร
75. circulation เงินตรา
76. claims reserve เงินสำรองค่าสินไหมทดแทน
77. collateral loan เงินกู้ที่มีหลักประกัน
78. commercial bill ตั๋วเงินพาณิชย์
79. commercial credit สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ หรือการซื้อขายสินค้า
80. commercial paper ตราสารการค้า
81. common purse เงินกองกลาง
82. common stocks (shares) หุ้นสามัญ
83. compensation ค่าตอบแทน หมายถึง ค่าแรง ค่าจ้าง เงินเดือน
84. contingent liabilities หนี้สินที่ไม่แน่นอน
85. contribution to capital เงินหรือทรัพย์สินที่นำมาร่วมลงทุน
86. corporation tax ภาษีเงินได้นิติบุคคล
87. cost ต้นทุน
88. cost accounting บัญชีค่าใช้จ่าย
89. cost and freight (CF) ค่าสินค้ารวมค่าระวาง
90. cost of goods sold ต้นทุนการขาย
91. cost of living ค่าครองชีพ
92. cost overrun ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่างบประมาณ
93. cost price ราคาทุน
94. cost-plus การคิดราคาโดยระบบต้นทุนบวกกำไร
95. counterpart fund เงินสมทบ
96. credit สินเชื่อ
97. credit account บัญชีเงินเชื่อ
98. credit balance ยอดเงินคงเหลือ
99. credit instrument ตราสารสั่งจ่ายเงิน
100. credit money ยอดเงินในบัญชี, เงินสินเชื่อ, ธนบัตร
101. credit note ใบลดหนี้
102. credit sale การขายเงินเชื่อ
103. creditor เจ้าหนี้ ผู้ให้กู้
104. currency เงินตรา
105. current account บัญชีกระแสรายวัน
106. current assets สินทรัพย์หมุนเวียน
107. current deposit เงินฝากรายวัน
108. current liabilities หนี้สินหมุนเวียน
109. current ratio อัตราส่วนทุนหมุนเวียน
110. customs duty ภาษีศุลกากร
111. damages เงินค่าชดเชย
112. debenture stock หุ้นกู้
113. debit note ใบเพิ่มหนี้
114. debt หนี้สิน
115. debtor ลูกหนี้
116. deferred charge รายจ่ายรอตัดบัญชี
117. deferred liabilities หนี้สินรอตัดบัญชี
118. deferred revenue รายได้รับล่วงหน้า
119. deficit budget งบประมาณขาดดุล
120. deficit financing การคลังแบบขาดดุล
121. deflation สภาวะเงินฝืด
122. deposit เงินฝาก
123. deposit in transit เงินฝากระหว่างทาง
124. deposit money เงินมัดจำ
125. depreciate ค่าเงินอ่อนตัว
126. digital cash เงินดิจิทัล
127. discount เงินสด
128. disposable income รายได้สุทธิ
129. dividend เงินปันผล
130. dividend per share เงินปันผลต่อหุ้น
131. dividend yield อัตราผลตอบแทนของหุ้น
132. dividend, bonus เงินปันผล
133. doubtful accounts หนี้สงสัยจะสูญ
134. doubtful debt หนี้สงสัยจะสูญ
135. draft ดราฟต์, ตั๋วแลกเงิน, ฉบับร่าง
136. due debt เงินค้างชำระ
137. durable goods (durables) สินค้าคงทน
138. dutiable goods สินค้าที่จะต้องเสียภาษี
139. earned income เงินรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ
140. earnest เงินมัดจำ
141. earnings per share (EPS) กำไรสุทธิต่อหุ้น
142. emoluments ค่าตอบแทน เช่น ค่าทนายความ ค่าแพทย์
143. entertainment allowance ค่าเบี้ยเลี้ยง
144. entertainment expenses ค่ารับรอง
145. equity capital เงินทุนหุ้นสามัญ
146. excess profit เงินกำไรส่วนเกิน
147. exchange rate อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา
148. excise tax ภาษีสรรพสามิต
149. exempt income เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษ
150. expenditure tax ภาษีเงินรายจ่าย
151. expenditure, outlay เงินรายจ่าย
152. expense account บัญชีรายจ่าย
153. expense ratio อัตราส่วนระหว่างรายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ
154. expenses ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
155. export credit สินเชื่อเพื่อการส่งออก
156. extended credit สินเชื่อที่ได้ขยายเวลาออกไปเกินกว่าเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
157. external debt หนี้สินภายนอกของบริษัทธุรกิจซึ่งรวมเงินกู้จากสถาบันการเงิน,
หนี้ซึ่งเป็นเงินกู้ต่างประเทศของประเทศหนึ่ง
158. extraordinary dividend เงินปันผลพิเศษ
159. fictitious assets ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน
160. finance การจัดหาเงิน,การเงิน,แหล่งเงินทุน
161. finance bill ร่างกฎหมายงบประมาณแผ่นดิน
162. finance house; hire purchase company บริษัทธุรกิจเช่าซื้อ
163. finance market; financial market ตลาดการเงิน
164. finance rate อัตราดอกเบี้ยซึ่งรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการกู้เงินทั้งหมด
165. financial analysis การวิเคราะห์ทางการเงิน
166. financial paper เอกสารการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น
167. financial ratio อัตราส่วนทางการเงิน
168. financial statement งบการเงิน
169. financial support ความช่วยเหลือทางการเงิน
170. fixed assets สินทรัพย์ถาวร
171. fixed capital ทุนคงที่
172. fixed charges ค่าใช้จ่ายประจำ
173. fixed costs ต้นทุนคงที่
174. fixed deposit เงินฝากประจำ
175. fixed expenses ค่าใช้จ่ายถาวร เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า
176. fixed income รายได้คงที่
177. fixed liability หนี้สินคงที่
178. fluctuating system ระบบเงินสดย่อยที่มิได้กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน
179. foregift เงินจ่ายล่วงหน้า
180. foreign borrowings เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ
181. foreign currency เงินตราต่างประเทศ
182. freightage ค่าระวาง
183. functional finance การคลังเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
184. funds เงินทุน
185. gain กำไร
186. general expenses ค่าโสหุ้ย
187. general ledger สมุดบัญชีแยกประเภท
188. goods สินค้า
189. grant-in-aid เงินอุดหนุน
190. gratuity เงินรางวัล, เงินบำเหน็จ,ค่าตอบแทน
191. grose working capital เงินทุนหมุนเวียนรวม
192. gross income รายได้ขั้นต้น
193. gross margin อัตรากำไรเบื้องต้น
194. gross proceeds เงินรายรับทั้งหมดจากการขาย
195. gross profit กำไรเบื้องต้น
196. gross sales จำนวนเงินยอดขายทั้งสิ้น
197. group discount ส่วนลดพิเศษให้กับการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากหรือใช้บริการมาก
198. guarantee deposit เงินวางประกัน
199. hidden tax ภาษีซึ่งรวมอยู่ในราคาสินค้าหรือค่าบริการ
200. honorarium เงินสมนาคุณ
201. hush-money เงินค่าปิดปาก
202. imprest system ระบบเงินสดย่อยที่กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน
203. income รายได้, เงินได้
204. income statement งบกำไรขาดทุน
205. indemnity เงินค่าชดเชย
206. indirect cost ทุนการผลิตทางอ้อม
207. indirect expenses ค่าใช้จ่ายทางอ้อม
208. indirect labour ค่าแรงทั่วไป
209. indirect liability หนี้สินทางอ้อม
210. inflation เงินเฟ้อ
211. installment เงินผ่อน
212. intangible assets สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน
213. interest ดอกเบี้ย
214. interest-bearing notes ตั๋วมีดอกเบี้ย
215. interim dividend เงินปันผลระหว่างกาล
216. intermediate term financing แหล่งเงินทุนระยะปานกลาง
217. investment banking การธนาคารเพื่อการลงทุน
218. investment fund เงินลงทุน
219. investment income รายได้จากการลงทุน
220. invisible income เงินได้กำบัง
221. issued capital ทุนหุ้นสามัญ
222. issued shares หุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว
223. legal capital ทุนจดทะเบียน
224. legal reserve เงินสำรองตามกฎหมาย
225. legal tender เงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
226. liabilities หนี้สิน
227. life annuity เงินปีตลอดชีพ
228. life income รายได้ตลอดชีพ
229. liquid assets สินทรัพย์คล่องตัว หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียน
230. loan capital ทุนกู้ยืม
231. long-term debt เงินกู้ระยะยาว
232. long-term financing แหล่งเงินทุนระยะยาว
233. long-term investment เงินลงทุนระยะยาว
234. long-term liabilities หนี้สินระยะยาว
235. manufacturing cost ต้นทุนการผลิต
236. margin กำไรเบื้องต้น
237. marketable securities หลักทรัพย์ชั่วคราว
238. marketing budget งบประมาณทางการตลาด
239. master budget งบประมาณหลัก
240. maturity bonus เงินปันผลครบกำหนด
241. maturity date วันครบกำหนดชำระเงิน
242. milled money เงินเหรียญกษาปณ์
243. money เงิน, เงินตรา
244. money circulation เงินหมุนเวียน
245. multiple banking การธนาคารเอนกประสงค์
246. national currenc เงินตราของชาติ
247. national expenditure รายจ่ายประชาชาติ
248. national income รายได้ประชาชาติ
249. net asset value มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
250. net assets สินทรัพย์สุทธิ
251. net debt หนี้สินสุทธิ
252. net income เงินได้สุทธิ
253. net income after tax กำไรสุทธิหลังหักภาษี
254. net interest ดอกเบี้ยสุทธิ
255. net loss การขาดทุนสุทธิ
256. net margin กำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย
257. net operating income กำไรสุทธิ ใช้โดยธนาคารเป็นผลกำไรการดำเนินการโดยยังไม่รวม
ผลกำไร หรือขาดทุนจากการค้าหลักทรัพย์หรือ
เงินสำรองหนี้สูญและ ยังไม่รวมภาษี
258. net proceeds เงินจำนวนสุทธิ
259. net profit กำไรสุทธิ กำไรจากการปฏิบัติการหลังหักภาษีเงินได้แล้ว
260. net receipts รายรับสุทธิ
261. net sales ยอดขายสุทธิ
262. net working capital เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ
263. noninterest-bearing notes ตั๋วไม่มีดอกเบี้ย
264. notes payable ตั๋วเงินจ่าย
265. notes receivable ตั๋วเงินรับ
266. old-aged pension เงินบำนาญ
267. on credit (ซื้อ) เงินเชื่อ
268. operating income รายได้จากการดำเนินงาน
269. operating budget งบประมาณในการดำเนินงาน
270. operating cost ต้นทุนการดำเนินงาน
271. operating expenses ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าโสหุ้ย
272. operating profit กำไรจากการดำเนินงาน
273. opportunity cost ต้นทุนค่าเสียโอกาส
274. ordinary share หุ้นสามัญ
275. other assets สินทรัพย์อื่น
276. other income รายได้อื่น ๆ
277. other liabilities หนี้สินอื่น
278. other receivables ลูกหนี้อื่น
279. outgoings เงินค่าใช้จ่าย
280. outlay ต้นทุนค่าใช้จ่าย
281. outstanding claims reserve เงินสำรองค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
282. outstanding shares หุ้นที่อยู่ในมือผู้ถือหุ้น
283. overdraw เบิกเงินเกินบัญชี
284. pay back จ่ายคืน, ใช้หนี้
285. paycheck เช็คเงินเดือน
286. per capital income รายได้ต่อบุคคล
287. performance budget งบประมาณแบบแสดงผลงาน
288. personal income รายได้ส่วนบุคคล
289. personal property ทรัพย์สินส่วนบุคคล
290. petty cash เงินสดย่อย
291. petty cash payment slip เงินสดย่อยที่จ่ายตามใบเบิกเงิน
292. preferred stock หุ้นบุริมสิทธิ
293. premium income รายได้จากเบี้ยประกันภัย
294. prepaid expense ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
295. principal (of a loan) เงินต้น
296. proceeds of auction เงินรายได้จากการขายทอดตลาด
297. production cost ต้นทุนการผลิต
298. profit กำไร
299. profitability อัตราผลกำไร
300. programme budgeting งบประมาณแบบแสดงแผนงาน
301. project budget งบประมาณโครงการ
302. promissory note ตั๋วสัญญาใช้เงิน
303. pubic revenue รายได้แผ่นดิน, รายได้สาธารณะ
304. public finance การคลังสาธารณะ, การคลัง
305. public money เงินกองกลาง
306. public utilities ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า รถประจำทาง
307. purchase money เงินชำระราคาบางส่วน
308. purchase price ราคาซื้อ
309. purchase tax ภาษีซื้อ
310. purchases ซื้อสินค้า
311. purchases discounts ส่วนลดรับ
312. purchases returns ส่งคืน
313. ready money เงินสด
314. real money เงินตราโลหะ
315. realized profit (loss) กำไร (หรือขาดทุน)
316. relief fund เงินสงเคราะห์
317. remuneration เงินค่าตอบแทน เงินจ่ายให้เป็นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าจ้าง
318. reserve เงินสำรอง
319. reserve capital ทุนสำรอง
320. reserve fund ทุนสำรอง
321. retain earning statement งบกำไรสะสม
322. retained earnings กำไรสะสม
323. retirement pay เงินบำเหน็จ
324. returnable deposits เงินมัดจำที่ต้องจ่ายคืน
325. revenue รายได้
326. revenue expenditure รายจ่ายที่หักจากรายได
327. revenue or income รายได้
328. revolving fund เงินหมุนเวียน
329. salary เงินเดือน
330. salary in proctising period เงินตกเบิก
331. sales ขายสินค้า
332. sales discounts ส่วนลดจ่าย
333. sales returns รับคืน
334. savings deposit เงินออม
335. security money เงินประกัน
336. short-term capital เงินทุนระยะสั้น
337. short-term financing แหล่งเงินทุนระยะสั้น
338. short-term liabilities หนี้สินระยะสั้น
339. short-term loan เงินกู้ระยะสั้น
340. short-term notes payable ตั๋วจ่ายเงินระยะสั้น
341. silver เงิน
342. sinking fund เงินทุนสำรองเพื่อชำระหนี้
343. sovings deposit เงินสะสม
344. specie เงินตราโลหะ, เหรียญกษาปณ์
345. stake เงินเดิมพัน
346. stated capital ทุนเรือนหุ้น, ทุนตามกฎหมาย
347. statement of change of financial posiiion งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน
348. subsidy เงินส่วนเพิ่ม
349. sum insured เงินเอาประกันภัย
350. surplus เงินส่วนเกิน
351. tangible assets สินทรัพย์ที่เป็นตัวตน เช่น อาคาร เครื่องจักร
352. tax ภาษี
353. temporary investment เงินลงทุนชั่วคราว
354. tight money เงินตึง
355. total assets สินทรัพย์รวม
356. trade creditor เจ้าหนี้การค้า
357. trade debtor ลูกหนี้การค้า
358. trade discount ส่วนลดการค้า
359. transportation-in ค่าขนส่งเข้า
360. transportation-out ค่าขนส่งออก
361. treasury reserves เงินคงคลัง
362. treasury shares หุ้นที่บริษัทถือเอง
363. unappropriated กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร
364. unissued shares หุ้นที่ยังมิได้จำหน่าย
365. unsecured loan เงินกู้ที่ไม่มีหลักประกัน
366. value added tax (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
367. variable working capital เงินทุนหมุนเวียนส่วนผันแปร
368. vehicle currency เงินตราหมุนเวียน
369. warehousing การคลังสินค้า
370. working capital เงินทุนหมุนเวียน