วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

จงอธิบายความสำคัญของการบริหารการจัดการทางการเงินที่มีต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลและเอกชน

ข้อ1 ความสำคัญในการบริหารทางด้านการเงินทั้งภาครัฐและเอกชน
ความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงินที่มีต่อองค์กรนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่าการจัดการบริหารการเงินนั้นเป็นปัจจัยหลักทางการบริหารขององค์การไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ขึ้นอยู่กับว่าภาคใดจะมีการจัดการที่ดีกว่ากันและสามารถดำเนินกิจการนั้นเจริญเติบโตและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดของกินการนั้นๆได้เป็นอย่างดี
ถ้าจะกล่าวถึงทางภาครัฐแล้วจะต้องมีการบริหารการเงินที่ดี เพราะว่าการลงทุนในภาครัฐนั้นอาจจะมีการได้กำไรหรือผลตอบแทรที่น้อยเพราะว่าเป็นกิจการที่มีการลงทุนน้อย และส่วนมากจะมีแต่ภาครัฐบาลเองที่มาบิหารส่วนเอกชนจะเข้ามาแทรกแซงได้น้อยทำให้ภาครัฐต้องมีการบริหารทางด้านการเงินที่มีอยู่อย่างพอเพียงได้ ส่วนภาคเอกชนนั้นจะต้องมีการบริหารที่ดีมากกว่าและมีประสิทธิภาพ เพราะว่าภาคเอกชนนั้นมีการลงทุนที่สูงและต้องการผลกำไรเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการจัดการทางด้านการเงินที่ดีพอ แต่ถ้าความสำคัญจริงๆทั้งๆ2ภาค จะมีความสำคัญที่เท่าเทียมกัน

Agency Problem
“Principal-Agent Problem” คือ “ปัญหาอันเกิดจากจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ต่างกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง” จุดมุ่งหมายของนายจ้างคือ “ผลประโยชน์” ของบริษัทอันหมายถึงผลกำไรและความเจริญเติบโตใดๆก็ตามที่บริษัทพึงมี ส่วนจุดประสงค์ของลูกจ้างนั้นคือ “ผลประโยชน์ของตัวเอง” อันคงมิใช่อะไรนอกไปเสียจาก “เงินเดือน” หรือ “ผลประโยชน์อันไม่อยู่ในรูปตัวเงิน” ต่างๆ อาทิเช่น ความสบายใจในการทำงานอันเกิดจากการอู้งานในขณะที่ยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม หรืออาจจะเป็นผลประโยชน์นอกลู่ใดๆอันอาจหามาได้จากการซิกแซ็กในการทำงาน

CFO
CFO – Chief Financial Officer เป็นผู้บริหารสูงสุดทางด้านการเงินของบริษัท หน้าที่คือรับผิดชอบในเรื่องของการดูแล รับผิดชอบ และตัดสินใจในเรื่องของบัญชีและการเงินของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องรายงานต่างๆ การดูแลเรื่องระบบบัญชี การดูแลด้านการเงินทุกอย่างตั้งแต่การหาแหล่งเงินทุน การใช้จ่ายเงิน การดูแลด้านงบประมาณ หรือ การนำเงินไปลงทุน ฯลฯ
1.ต้องเข้าใจว่าองค์กรจะทำอะไร
2.ให้แน่ใจว่ามีการประเมินอย่างมีความหมายในตัวเลขต่าง ๆจะได้จัดการทรัพยากรทางการเงินได้(Resource Allocation)
3.สื่อความกันตลอดเวลาให้เห็นภาพเครื่องที่เลือกใช้และติดตามงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไปไม่ถึงเป้า

Social Responsibility
การดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ซึ่งหมายถึง การมีนโยบายพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน ควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด “องค์กรควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ พัฒนา และ มุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการและคืนกำไรให้แก่สังคม
และองค์กรต่างๆที่มีจิตสำนึกต่อสังคมจะมีแนวทางการดำเนินงานที่คำนึงถึงพนักงาน / สิ่งแวดล้อม และชุมชน เป็นหลัก ISO 26000 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่มีการบังคับทางกฎหมายว่าทุกองค์กรต้องมีระบบมาตรฐานนี้ แต่หากองค์กรใดมีจิตสำนึกและปฏิบัติสอดคล้องกับแนวทาง ISO 26000 ก็จะเป็นที่ยอมรับและมีผลต่อภาพลักษณ์ ของการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

Conflict of Interest
Conflict of Interests หรือที่ในภาษาไทยใช้ว่า ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนร่วมหรือที่นักวิชาการบางคนใช้คำว่า ความทับซ้อนกันของผลประโยชน์หรือความขัดแย้งกันของผลประโยชน์นั้น สามารถมองได้ใน 2 ระดับ คือ
1. ระดับนโยบายหรือระดับมหภาค ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายในด้านต่างๆของประเทศ เช่น นโยบายด้านพลังงาน และนโยบายด้านการสื่อสาร เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในขอบข่ายของความขัดแย้งกันฯในระดับนี้จึงได้แก่นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง กลุ่มธุรกิจ(การเมือง) และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ เป็นต้น
2. ระดับปฏิบัติการ ซึ่งเป็นปัญหาความขัดแย้งกันฯ ในระดับบุคคล คือ ในตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐรวมถึงกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อ Conflict of Interests เช่น วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้/ภาษีวิชาชีพเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

ตราสารทุน
ตราสารทุน (Equity Instruments) หมายถึง ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารทุนได้แก่
1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง
4. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด

ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างกัน โดยลักษณะของการเป็นตราสารเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนมือได้กล่าวอีกนัยหนึ่งตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่งที่มีความเป็นมาตรฐาน ผู้ออกตราสารเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ ในขณะที่ผู้ให้กู้เป็นผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายมีข้อผูกพันทางกฎหมายที่จะได้รับชำระเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น ตามเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ตราสารหนี้มีคุณสมบัติที่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยๆที่เท่าๆกันโดยได้ผลประโยชน์หรืออัตราผลตอบแทนเท่ากันทุกหน่วย และมีคุณสมบัติที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้จนกว่าจะหมดอายุของตราสารนั้นสำหรับการเรียกชื่อตราสารหนี้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยทั่วไปในต่างประเทศใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Secured bond) และใช้คำว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Unsecured bond) สำหรับในประเทศไทยนิยมเรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐว่า พันธบัตร(Bond) ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนจะเรียกว่า หุ้นกู้(Debenture)

1 ความคิดเห็น:

  1. คุณจำเป็นต้องกู้เงินที่จะจ่ายให้การเรียกเก็บเงินหรือการเริ่มต้นธุรกิจ? ส่งอีเมล์หาเราตอนนี้ :: johnsoncole08@gmail.com



    เราได้รับการรับรองและการรับรองโดยรัฐ บริษัท เงินกู้และเงื่อนไขเงินกู้ของเราและให้กำลังใจและราคาถูกมากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คือ 1.5% ตอนนี้เราได้เริ่มต้นที่จะให้ข้อเสนอเงินกู้ปีใหม่กับผู้กู้อย่างจริงจังและเชื่อถือได้ที่สามารถชำระคืนเงินกู้ของเราเมื่อมีการกำหนดชำระคืน โปรดทราบว่าเราจะต้องกู้อย่างจริงจังที่จะใช้สำหรับการกู้ ..



    ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง ส่งอีเมล์หาเราตอนนี้ :: johnsoncole08@gmail.com



    ความนับถือ

    ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา

    ตอบลบ